ราคา |
ราคาขายปลีก ตลับละ 59 บาท
ราคาขายปลีก หลอดละ 69 บาท
สั่งซื้อจำนวนมากหรือนำไปจำหน่าย โปรดติดต่อกลับมาที่ 081-4257363
ยาสีฟันสมันไพรสูตรเข้มข้นช่วยแก้ปัญหากลิ่นปาก ปวดฟัน เหงือกอักเสบ เสียวฟัน คราบบุหรี่ กาแฟ ผลิตจากสมุนไพรธรรมชาติอันทรงคุณค่ากว่า 8 ชนิด
|
คุณสมบัติเมื่อเปรียบเทียบกับยาสีฟันทั่วไป |
*ลดและป้องกันอาการปวดฟัน เสียวฟัน เหงือกอักเสบ เลือดออกตามไรฟัน
*ลดคราบหินปูน คราบบุหรี่ ชา กาแฟ
*ระงับกลิ่นปากยาวนานตลอดวัน
*เป็นยาสีฟันสูตรเข้มข้น ใช้เพียง 1 ใน 10 ของแปรง (ปริมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว
*เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน/ยาสีฟันสมันไพร 5 ดาว 5เอ และสตาร์เฮิร์บส์ สมุนไพรส่วนผสมที่สำคัญ : เมนทอล พิมเสน การบูร กานพลูฯลฯ
***บริการจัดส่งทั่วประเทศ ปลีก ส่ง***
MSN & Email:komkrit222@hotmail.com
**รับตัวแทนจำหน่ายยาสีฟันสมุนไพร 5 ดาว 5เอ ทั่วประเทศ**
|
สมุนไพรกับสุขภาพของช่องปาก |
ปากและฟันเป็นอวัยวะที่สำคัญในการนำอาหารเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย การเกิดโรคขึ้นกับช่องปากและฟันจึงนับว่าเป็นปัญหาสำคัญ ต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่งด้วยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่มี มาแต่โบราณ ซึ่งรู้จักการแก้และป้องกันโรคที่เกิดกับปากและฟัน โดยนำสรรพคุณทางยาของสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ และเขียนเป็นตำราไว้มากมาย สูตรยาสีฟันสมุนไพรโบราณนั้นส่วนใหญ่จะประกอบด้วย เกลือ สารส้มสะตุ การบูร กานพลู และพิมเสน เป็นหลัก โดยนำมาบดให้ละเอียด ปิดฝาให้มิดชิด นอกจากนี้ยังมีการเติมสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีสรรพคุณทางยาผสมเข้าไปด้วย เพื่อช่วยให้มีประสิทธิภาพในการรักษาช่องปากมากขึ้น ซึ่งสรรพคุณของสมุนไพรที่ปรากฎตามตำราโบราณนั้นเมื่อนำมาศึกษาโดยวิธีทาง วิทยาศาสตร์ พบว่ามีสรรพคุณที่ค่อนข้างตรงกับที่โบราณระบุไว้เกือบทุกประการ เช่น |
• สารส้มสะตุช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบและบวมและช่วยดับกลิ่นปากได้เป็นอย่างดี |
• กานพลูช่วยรักษาอาการเหงือกเป็นหนอง และเลือดออกตามไรฟัน |
• การบูรและพิมเสนทำให้ปากหอมสดชื่น |
ส่วนประกอบของยาสีฟันสมุนไพรและสรรพคุณ |
กานพลู |
เป็นไม้ต้น สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม.ยาว 32-37 ซม.ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบแผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้นปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม.ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกสั้นมากแต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม.ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม.กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม.เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม.ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม.กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. |
มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสร เพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7มม.ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม.ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม.แก่จัดสีแดงมี 1 เมล็ดกานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะนำไปปลูกในเขตร้อนทั่ว โลกในประเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลายชอบขึ้นในดินร่วนซุยการระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุกขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900เมตร ส่วนที่ใช้:เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหยกานพลู |
สรรพคุณ: เปลือกต้น - แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ ,ใบ - แก้ปวดมวน, ดอก ตูม - รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น ดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้องและแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็กแก้ปากเหม็น |
แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด ดับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน ผล- ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอมน้ำมันหอมระเหยกานพลู – ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา |
ยาแก้ปวดฟัน: ใช้ น้ำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยดใช้สำลีพันปลายไม้จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวดจะทำให้อาการปวดทุเลาและ ใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยวแล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟัน เพื่อระงับอาการปวดหรือใช้ดอกกานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอ แฉะใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด ระงับกลิ่นปากใช้ดอกตูม 2-3 ดอกอมไว้ในปากจะระงับกลิ่นปากได้ |
พิมเสน |
เป็นพืชขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบรูปไข่ ขอบใบจักเป็นซี่งมีขนหนาแน่น ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบและที่ยอด ผลแข็ง รูปรี ขนาดเล็ก บางถิ่นเรียกว่าผักชีช้าง ภาคใต้เรียกว่าใบหลมหรือใบอีหรม เนื่องจากภาษาอังกฤษเรียกว่า patchouli น้ำมัน พิมเสนได้จากการกลั่นกิ่งและใบต้นพิมเสนจึงมีชื่อเรียกว่าน้ำมันแพทชูลี นิยมใช้ปรุงเป็นน้ำหอม แต่งกลิ่นสบู่ ใช้ผสมน้ำอาบเพื่อระงับกลิ่นตัว โบราณใช้แต่งกลิ่นขี้ผึ้งสีปาก |
ในทางยาใช้ทาแก้ปวด ต้นพิมเสนเป็นส่วนผสมหนึ่งในตำรับยาหอม ตำรับยาแก้ไข้ ใบสดต้มน้ำดื่มแก้ปวดประจำเดือน ยาชงจากยอดแห้งและรากดื่มเป็นยาขับปัสสาวะและขับลม ผงใบใช้เป็นยานัตถุ์และเป็นยาทำให้จาม กิ่งและใบแห้งใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้าทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยป้องกันแมลงกัดเสื้อผ้า |
พิมเสนบริสุทธิ์จะเป็นรูปหกเหลี่ยม ละลายในปิโตรเลียม อีเทอร์, เบนซิน ตามตำราประมวลหลักเภสัชฯ ท่านจัดพิมเสนเป็นธาตุวัตถุ ได้จากการนำการบูรมาหุงกับยาอื่นๆ ได้เป็นเกร็ดแบนๆสีขาว ถ้าเป็นของแท้จากธรรมชาติจะไม่กัดลิ้นแต่จะทำให้เย็นปากคอสมัยก่อนใส่ในหมาก พลู |
แพทย์แผนโบราณใช้พิมเสนเป็นยาขับเหงื่อขับเสมหะ กระตุ้นการหายใจ กระตุ้นสมอง บำรุงหัวใจ ใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวายทำให้ง่วงซึม ถ้าใช้เกินขนาดอาจทำให้อาเจียนการอบสมุนไพรมีพิมเสนเป็นส่วนประกอบในตัวยา พิมเสนซึ่งระเหิดเมื่อถูกความร้อน มีกลิ่น หอม ใช้แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ผสมในลูกประคบ เพื่อช่วยแต่งกลิ่น มีฤทธิ์แก้พุพอง แก้หวัด |
การบูร |
เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 ม.อาจสูงได้ถึง 30 ม.ลำต้นและกิ่งเรียบทุกส่วนมีกลิ่นหอมการบูร (camphor)ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปไข่กว้าง หรือรูปรี ปลายเรียวแหลมโคนสอบ ขอบเรียบ ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีนวล มีต่อม 2 ต่อม ที่ง่ามใบคู่ล่าง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบ ดอกเล็กสีเหลืองอ่อน กลีบรวม 6 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ผลค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-1.2 ซม. สีเขียวเข้มเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่มี 1 เมล็ด |
ประโยชน์: เมื่อนำส่วนต่างๆ ของการบูรมากลั่นจะได้น้ำมันระเหยง่าย ซึ่งประกอบด้วยสารต่างๆ เช่น camphor, safrol, cineole, camphene, phellandrene และ limonene สำหรับ camphor จะเป็นผลึกแยกออกมาเรียกว่าการบูร ใช้เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ยากระตุ้นหัวใจ ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปวด ทำยาทาถูนวดแก้ปวดตามข้อ |
ส่วนประกอบในยาสีฟันแบ่งออกได้เป็นสาร 8 กลุ่มใหญ่ดังนี้ |
1.สารขัดสีทำหน้าที่ขจัดคราบอาหารหรือคราบจุลินทรีย์ที่เรียกว่าพลัคซึ่งเกาะอยู่ บนตัวฟันตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่แคลเซียมคาร์บอเนต ไดแคลเซียมฟอสเฟตไดไฮเดรท (DCPD)ไตรแคลเซียมฟอสเฟต แมกนีเซียมดรอกไซด์ โซเดียมเมตาฟอสเฟต ที่ไม่ละลายน้ำ อะลูมิเนียมออกไซด์ไฮเดรท และซิลิกอนไดออกไซด์ |
2.สารที่ทำให้เกิดฟองได้แก่ โซเดียมลอริลซัลเฟต โซเดียมริโคโนลิเอต โซเดียมซัลโฟริซิโนลิเตต |
3.สารให้ความชุ่มชื้น ทำให้ยาสีฟันไม่แห้งแข็ง ได้แก่ ซอร์บิทอล ซอร์บิแทนโมโนโอลีเอต |
4.สารเพิ่มเนื้อให้ความหนืดได้แก่ คาร์บอกซิเมททิล เซลลูโลส หรือที่เรียกย่อๆว่า ซีเอ็มซี |
5.สารแต่งกลิ่นรสทำให้รู้สึกเย็นซ่าเวลาแปรงฟันช่วยให้รู้สึกสบายไม่คลื่นไส้ กลิ่นและรสจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสาร สารในกลุ่มนี้ได้แก่ กลิ่นส้ม ลีโมนีน กลิ่นผลไม้รวม เอทิลโพรพิโนเอต เมนทอล ยูคาลิปตัส และน้ำมันจากใบพืชตระกูลสาระแหน่เช่น สเปียร์มินต์ออย เปปเปอร์มินต์ออย |
6.สารกันบูดได้แก่ โซเดียมเบนโซเอต เอทิลพาราเบนและเมทิลพาราเบน |
7.สารที่มีสมบัติเป็นยารักษาฟันและเหงือก ช่วยป้องกันหรือลดการเกิดโรคในช่องปาก แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้ |
• สารป้องกันฟันผุได้แก่สารประกอบฟลูออไรด์เช่น โซเดียมฟลูออไรด์ สแตนนัสฟลูออไรด์ และโซเดียมโมโนฟลูออโรฟอสเฟต สารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์เฮกโซคิเนส ในปฏิกิริยาไกลโคลไลซิส เช่น โซเดียม เอ็นลอโรอิลซารโคซิเนต สารยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียเช่น เฮกซะคลอโรฟีน เบนเซโธเนียมคลอไรด์ สารลดเชื้อช่วยต่อต้านการเติบโตของจุลินทรีย์ได้แก่ คลอรีนไดออกไซด์ ไธมอลไตรโคซานและพีวีเอ็ม/เอ็มเอโคโพลีเมอร์หรือไตรโคลซานและซิงค์ซิเตรต |
• สารควบคุมหินน้ำลายบนแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่อยู่บนผิวฟัน สารกลุ่มนี้ที่พบได้แก่ ไพโรฟอสเฟต และซิงค์ซิเทรท |
• สารลดการเสียวฟัน การเสียวฟันมักจะเกิดเมื่อมีการกระตุ้นเช่น จากของเย็น ของหวาน ของเปรี้ยวและการโดนลม สารกลุ่มนี้ได้แก่ สตรอนเชียมคลอไรด์และโพแทสเซียมไนเตรท |
8.สมุนไพรมีทั้งสมุนไพรไทยและสมุนไพรต่างประเทศสมุนไพรเหล่านี้มีสมบัติต่างกันออกไป ตัวอย่างสมุนไพรไทย ได้แก่กิ่งข่อย มีสารแทนนินซึ่งมีฤทธิ์ในการระงับเชื้อและช่วยเคลือบฟันได้กานพลู ส่วนที่นำมาใช้มักจะเป็นดอกซึ่งมีน้ำมันมีฤทธิ์ในการระงับเชื้ออย่างอ่อน นอกจากนี้ก็มีเกลือแกง ลิ้นทะเลใช้เป็นผงขัดฟัน ผงฟูหรือโซเดียมไบคาร์บอเนต มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆช่วยปรับความเป็นกรดในช่องปากซึ่งมาจากอาหารที่รส เปรี้ยว พิมเสน การบูร ชะเอมเทศใช้ในการปรุงแต่งรสชาติ |
ส่วนสมุนไพรต่างประเทศได้แก่ คาโมไมล์ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ มิ้นท์ เสจ เอคชินาเซีย ทีทรีออยส์เป็นสมุนไพรที่นำมาผสมในยาสีฟันเพื่อช่วยในการรักษาโรคเหงือก ในประเทศออสเตรเลียนอกจากสมุนไพรแล้วยังมีการนำพรอพ์โพลิสสารที่มาจากรัง ผึ้งมีฤทธิ์ในการระงับเชื้อผสมในยาสีฟันด้วย |
จากการสำรวจยาสีฟันที่ขายในท้องตลาดสังเกตได้ว่าสามารถแบ่งยาสีฟันตามส่วน ประกอบออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ทั้งสองกลุ่มนี้จะประกอบด้วยสารกลุ่มที่ 1-6 ซึ่งเป็นสารขัดสีสารทำความสะอาด สารให้ความชุ่มชื้น สารเพิ่มเนื้อให้ความหนืด สารแต่งกลิ่นรสและสารกันบูด ส่วนสารกลุ่มที่มีคุณสมบัติในการรักษาฟันและเหงือกจะต่างกันคือเป็นสารเคมี ที่ผลิตขึ้นอันได้แก่สารกลุ่มที่ 7 และเป็นสารสกัดจากสมุนไพรอันได้แก่สารกลุ่มที่ 8 อาจมีบ้างแต่เป็นส่วนน้อยที่เป็นยาสีฟันที่ประกอบด้วยสาร ทั้ง 8กลุ่ม |
การเลือกใช้ยาสีฟันสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับฟันเหงือกและ ช่องปากอาจมีหลักการง่ายๆคือเลือกยาสีฟันที่มีรสและกลิ่นที่ชอบแล้วทดลองใช้ ถ้าใช้แล้วฟันสะอาดกำจัดคราบอาหารและคราบจุลินทรีย์ได้และไม่มีอาการแพ้ของ |
เยื่อในช่องปากริมฝีปากลอกเป็นขุยหรือทำให้เหงือกเป็นแผล ก็ แสดงว่าเราได้ยาสีฟันที่ดีเหมาะกับฟันของเราแล้ว สำหรับบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับฟันเหงือกและช่องปากนั้นต้องพิถีพิถันเกี่ยว กับการเลือกใช้ยาสีฟันโดยมุ่งเน้นไปที่การพิจารณาสารที่มีคุณสมบัติในการรักษาเหงือกและฟัน |